เลือกเลนส์ให้เหมาะกับภาพ
โดย อาจารย์ ดร.ปรียา สมพืช
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
เลนส์เป็นอุปกรณ์เปรียบเสมือนดวงตาของมนุษย์ และเปรียบเสมือนดวงตาของกล้องถ่าย จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการถ่ายภาพ สามารถแบ่งประเภทของเลนส์เป็น 5 ประเภท ดังนี้
1.เลนส์มาตรฐาน (Normal Lens) เป็นเลนส์ที่ใช้ในการถ่ายภาพทั่วๆ ไป ภาพที่จะได้จะมีสัดส่วนปกติ ใกล้เคียงกับสายตาของมนุษย์มากที่สุด เลนส์มาตรฐานมักจะมีความยาวโฟกัส 50 มิลลิเมตร มีมุมรับภาพ 47 องศา
![]() |
เลนส์มาตรฐาน
ที่มา
: http://www.mukphotoclub.com/muk/lens-02.php
|
2. เลนส์มุมกว้าง ( Wide - angle Lens ) เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้นกว่าหรือน้อยกว่าเลนส์มาตรฐาน เช่น 35 มม. 28 มม. 24 มม. เป็นต้น มีมุมการรับภาพกว้างกว่าเลนส์มาตรฐานทำให้สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่าเลนส์มาตรฐานด้วย และยังได้ระยะชัดลึกตลอดทั้งภาพ การใช้เลนส์มุมกว้างจะได้ภาพที่มีสัดส่วนของวัตถุในภาพเกิดการผิดเพี้ยน เนื่องจากสิ่งที่อยู่ใกล้จะใหญ่ขึ้นไม่ได้สัดส่วนกับส่วนที่อยู่ไกล เลนส์มุมกว้างนิยมใช้ถ่ายภาพในสถานที่ที่คับแคบ เช่น การถ่ายภาพสถาปัตยกรรมที่ต้องการให้อยู่ในภาพทั้งหมด แต่ไม่สามารถจะหามุมได้ เพราะมีสิ่งกีดขวาง เช่น แม่น้ำ ถนน เสาไฟ เป็นต้น
3.เลนส์เทเลโฟโต้หรือเลนส์ถ่ายไกล (Telephoto Lens) คือ เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสยาวกว่าเลนส์มาตรฐาน มุมการรับภาพจะแคบ มีความชัดลึกน้อย เหมาะกับการถ่ายภาพระยะไกลให้ดูใกล้ เช่น ภาพสัตว์ต่างๆ ที่อยู่ในระยะไกลๆ ที่ไม่สามารถเข้าใกล้ได้
ภาพ
เลนส์ถ่ายไกล
4.
เลนส์ถ่ายใกล้ (Macro Lens)
คือ เลนส์ที่ใช้ถ่ายภาพระยะใกล้กว่าปกติ
ซึ่งเลนส์ทั่วไปไม่สามารถถ่ายภาพให้เห็นระยะใกล้มาก ๆ ได้
ซึ่งเลนส์ประเภทนี้จะมีกำลังขยายที่ข้างเลนส์ จะสามารถถ่ายภาพได้จนถึงขนาด 1:1
คือได้เท่าขนาดของวัตถุ เช่น การถ่ายภาพแมลง วัตถุขนาดเล็ก ดอกไม้ เป็นต้น
5.เลนส์ซูม (Zoom Lens) คือ เลนส์ที่สามารถเปลี่ยนความยาวโฟกัสได้หลายระยะในเลนส์ตัวเดียวกัน เป็นเลนส์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
เพราะสะดวกต่อการใช้งาน
สามารถเปลี่ยนระยะความยาวโฟกัสได้ทั้งมุมกว้างหรือแคบได้ตามต้องการ
สามารถถ่ายภาพได้หลายมุมมองโดยไม่ต้องเดินเข้าหรือออกจากวัตถุ
เลนส์ซูมสามารถแบ่งตามช่วงของความยาวโฟกัสออกเป็น เลนส์ซูม ช่วงมุมกว้าง เลนส์ซูมช่วงถ่ายไกล และเลนส์ซูมช่วงถ่ายมุมกว้างและถ่ายไกลในตัวเดียวกันหรือที่เรียกว่า
“เลนส์ครอบจักรวาล” นั่นเอง (ณัฐกร
สงคราม, 2557)
เป็นกำลังใจให้คุณครู จะเข้ามาอ่านบ่อยๆ ความรู้จะได้ไม่หาย สู้ๆ คับโผมมมม
ตอบลบขอบคุณสำหรับกำลังใจ อ่านแล้วได้ความรู้แน่นอนค่ะ
ตอบลบน่ารักครับบบ
ตอบลบ